กิจกรรมพัฒนาด้านปศุสัตว์
3.1 จัดตั้งกองทุนยาปศุสัตว์และให้บริการด้านสัตวบาล
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ได้ส่งชาวบ้านในพื้นที่จํานวน 4 คนไปอบรมหลักสูตร สัตวบาลและการเลี้ยงสัตว์ ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร เพื่อให้มีทักษะในการดูแลสุขภาพสัตว์ในพื้นที่โครงการ โดยมีเป้าหมาย ในการลดอัตราการตายของสัตว์ เพื่อลดรายจ่าย สร้างรายได้ และเพิ่มสินทรัพย์ ให้แก่ชุมชน รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมและวางรากฐานเพื่อการพัฒนา ด้านปศุสัตว์อื่นๆ ในระยะต่อไป
ภายหลังจากอาสาสมัครปศุสัตว์ 4 คนได้รับการฝึกอบรมด้านการดูแล รักษาสุขภาพสัตว์พื้นฐานแล้ว โครงการฯ ได้จัดตั้งกองทุนยาปศุสัตว์เพื่อให้ทีมงานปศุสัตว์ของโครงการมียารักษาสัตว์คุณภาพดีและอุปกรณ์ ที่จําเป็นในการลงพื้นที่ติดตามสุขภาพของสัตว์ตามหมู่บ้านต่างๆ เวชภัณฑ์ต่างๆอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อลดอัตราการตายของสัตว์ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์สําคัญ ของชุมชน อาสาสมัครให้บริการฉีดวัคซีนและรักษาสัตว์ป่วยในพื้นที่ โดยเก็บค่าบริการจากชาวบ้านเจ้าของสัตว์ และสะสมไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียนสําหรับ ซื้อยาต่อไป ตลอดจนให้คําแนะนําการเลี้ยงและดูแลสัตว์อย่างถูกวิธีรวมถึงการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยของปศุสัตว์ให้เหมาะสม โดยให้บริการ ด้านสัตวบาลในพื้นที่มาจนถึงปัจจุบันเป็นจํานวน 2,330 ตัว
ผลจากการให้บริการด้านสุขภาพสัตว์ตลอดปีที่ผ่านมาทําให้อัตราการตายในสัตว์ลดลงเกือบทุกประเภท และสร้างความตระหนักรู้ให้ชาวบ้านเห็นความ สําคัญของการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง ส่งผลให้มูลค่าการสูญเสียของสัตว์ ในปี 2561 ลดลงจากปี 2560 จาก 4,965,754 บาท เหลือ 3,015,990 บาท (ลดลงร้อยละ 39)


ฉีควิคชีนให้สุกรและเป็ด
3.2 กองทุนปศุสัตว์
หลังจากที่มั่นใจว่า มีบุคลากรและยาคุณภาพดีสําหรับการรักษาสุขภาพสัตว์ ในพื้นที่แล้ว โครงการฯ มีแผนที่จะเพิ่มปริมาณปศุสัตว์ในพื้นที่ เพื่อให้เป็น แหล่งอาหารและสินทรัพย์ของครัวเรือน ช่วยเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและ เป็นแหล่งรายได้เพิ่มเติมให้แก่ชุมชน ด้วยการจัดตั้งกองทุนปศุสัตว์ ได้แก่
สุกร ไก่ เป็ดไข่ และเป็ดเทศ เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ อย่างเป็นระบบโดยนอกจากหลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิจารณาความพร้อมของผู้รับมอบสัตว์ เช่น การมีโรงเรือนที่เหมาะสม ครัวเรือนมีความสามารถในการ ดูแลปศุสัตว์แล้ว กองทุนยังกําหนดให้ชาวบ้านผู้รับสัตว์จากโครงการต้อง จ่ายคืนตามเงื่อนไข เช่น จ่ายคืนลูกสุกรตัวเมีย 3 ตัวต่อการรับสุกรแม่พันธุ์ 1 ตัว และจ่ายคืนลูกสุกรตัวเมีย 1 ตัวต่อการรับสุกรพ่อพันธุ์ 1 ตัว ส่วนสัตว์ปีก คืน 1 ตัวต่อสัตว์ปีกที่ได้รับ 1 ตัว เป็นต้น เพื่อนําพันธุ์สัตว์ไปส่งเสริมให้ ชาวบ้านรายอื่นๆ ต่อไป


ส่งมอบสุกรและไก่ให้ชาวบ้าน
โดยตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกองทุนปศุสัตว์มา โครงการฯ ได้สนับสนุนพันธุ์สัตว์ได้แก่ สุกร 285 ตัว ไก่ 2,691 ตัว เป็ดไข่ 612 ตัวและเป็ดเทศ 916 ตัว โดยบางส่วน เป็นสัตว์ที่เกิดจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่โครงการฯ ได้มอบให้ชาวบ้านในช่วง ที่ผ่านมาและได้ส่งคืนโครงการตามเงื่อนไขของกองทุน นอกจากนี้ได้ร่วมกับ สํานักงานประมงอําเภอแม่อายได้สนับสนุนพันธุ์ปลาให้ชาวบ้านในพื้นที่ โครงการฯ ได้แก่ ปลายี่สกเทศ และปลานิล โดยสนับสนุนพันธุ์ปลายี่สกเทศ จํานวน 10,000 ตัว และปลานิลจํานวน 26,000 ตัว ให้กับชาวบ้านที่ขุด บ่อพวงสันเขาร่วมกับโครงการ และสนใจเลี้ยงปลา จํานวนทั้งสิ้น 68 คน เพื่อเป็นแหล่งอาหารและแหล่งรายได้เสริม
3.3 การพัฒนาคุณภาพอาหารสัตว์
นอกจากเรื่องสุขภาพสัตว์แล้ว อาหารก็เป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพ ของปศุสัตว์ รวมทั้งเป็นต้นทุนหลัก ในการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรอีกด้วย ดังนั้นโครงการฯ จึงส่งเสริมให้เกษตรกรทําอาหารหมักจากต้นกล้วย ซึ่งเป็นการใช้วัตถุดิบในพื้นที่และช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์
นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านการปลูกหญ้าเนเปียร์และต้นกล้วย เพื่อใช้ผลิตอาหารสัตว์ที่มี และต้นทุนต่ํา โดยดําเนินการปลูกหญ้าเนเปียร์ และต้นกล้วยเพื่อเป็นอาหารสัตว์พื้นที่ทั้งสิ้น 87 ไร่

แปลงหญ้าเนเปียร์
3.4 การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สร้างโรงเรือน
เพื่อสร้างโอกาสให้กับผู้ที่มีฐานะ ยากจนในการเริ่มต้นประกอบอาชีพหารายได้ที่สุจริต โครงการฯได้จัดตั้งกองทุนสนับสนุนวัสดุ
อุปกรณ์โรงเรือนสําหรับคนยากจนเพื่อสนับสนุนผู้ที่มีฐานะยากจนให้สามารถสร้างและปรับปรุงโรงเรือนของสัตว์เลี้ยงให้ผ่านเกณฑ์
การพิจารณาสนับสนุนพันธุ์สัตว์ จากโครงการได้โดยสนับสนุนวัสดุก่อสร้างต่างๆ ให้กับชาวบ้านภายใต้เงื่อนไขว่า เมื่อชาวบ้านที่ได้รับการสนับสนุนพันธุ์สัตว์จากทางโครงการฯ รายได้จาก การขายสัตว์แล้ว จะต้องจ่ายคืนค่าวัสดุอุปกรณ์ให้กับโครงการฯ ตามมูลค่า ที่สนับสนุน เพื่อเป็นทุนสนับสนุนให้กับชาวบ้านที่มีฐานะยากจนรายอื่นๆ ต่อไปโดยโครงการฯ ได้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์โรงเรือนปศุสัตว์ให้แก่ชาวบ้านจํานวน ทั้งสิ้น 50 ราย

สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์สร้างโรงเรือนหมูขุน
3.5. กิจกรรมเยาวชนเลี้ยงไก่ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
โครงการฯ ได้เริ่มกิจกรรมอบรมเยาวชนเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้กับนักเรียนจาก โรงเรียน ตชด. ศึกษานารีอนุสรณ์ 3 และโรงเรียนบ้านสุขฤทัย จํานวน 50 คน ให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่ หยอดวัคซีน และให้นักเรียนดูแลไก่ที่บ้าน 10 ตัว ไม่ให้ตายตลอดระยะเวลา 3 เดือน โดยมีผู้ปกครองและครูเป็นผู้ติดตาม ประเมินผล พร้อมกับแจกสมุดบันทึกติดตามการเจริญเติบโต เพื่อเป็นการฝึก ทักษะการเลี้ยงไก่ให้กับเด็กนักเรียน ลดอัตราการตายของไก่ในพื้นที่ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กนักเรียนในกิจกรรมพัฒนาร่วมกับโครงการฯ
จากการติดตามหลังจากครบกําหนดระยะเวลา 3 เดือน พบว่ามีนักเรียนที่ ผ่านเกณฑ์การเลี้ยงไก่ จํานวน 35 คน


กิจกรรมเยาวชนเลี้ยงไก่
โครงการฯ ยังเข้าไปดําเนินกิจกรรมเยาวชนเลี้ยงไก่ กับกลุ่มเด็กนักเรียนที่มี ฐานะยากจนจากการสํารวจข้อมูล โดยจะเข้าไปสร้างความเข้าใจ สอบถาม ความต้องการเข้าร่วมกิจกรรม และพิจารณาสนับสนุนพันธุ์ไก่สําหรับร่วมกิจกรรมแก่เด็กที่มีศักยภาพในการเลี้ยงแต่ไม่มีไก่เป็นของตนเอง เพื่อสร้าง ทักษะอาชีพและยกระดับรายได้ของครอบครัวในระยะยาวต่อไป โดยสนับสนุน ไก่ 62 ตัวให้เด็กนักเรียนยากจนจํานวน 21 คน
3.6 การศึกษาดูงานและอบรมด้านปศุสัตว์
โครงการฯได้จัดการศึกษาดูงานและจัดการอบรมด้านปศุสัตว์ให้กับเจ้าหน้าที่ ทีมปศุสัตว์ของโครงการฯ และชาวบ้านในโครงการร้อยใจรักษ์ เพื่อสร้างความ เข้าใจเรื่องการเพิ่มมูลค่าสัตว์ในพื้นที่ ตลอดจนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จาก ปศุสัตว์เพื่อเพิ่มมูลค่า จํานวน 3 ครั้ง ดังนี้
- การอบรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเป็ด วันที่ 27 สิงหาคม 2562 ณ โครงการร้อยใจรักษ์
- การศึกษาดูงานการศึกษาดูงานการเลี้ยงและการแปรรูปโคเนื้อ วันที่ 29 สิงหาคม 2562 ณ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อล้านนา จังหวัดเชียงราย
- การศึกษาดูงานด้านประมง วันที่ 3 สิงหาคม 2563 คน ณ ศูนย์วิจัย และพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําจืดเขต 2 จังหวัดเชียงราย

