การพัฒนาด้านการเกษตร

2.1. การจัดตั้งแปลงเกษตรสาธิต 75 ไร่

โครงการฯ ได้จัดตั้งแปลงเกษตรสาธิตขนาด 75 ไร่ เพื่อเป็นพื้นที่ตัวอย่าง ในการดําเนินกิจกรรมพัฒนาทั้งมิติน้ํา ดิน ป่าเกษตรและปศุสัตว์อย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นทาง (การปลูกและผลิต) กลางทาง (วางแผนการตลาด) และปลายทาง (การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม) โดยเป็นการพัฒนาพื้นที่ทั้งลุ่มน้ํา (Area-based development) ที่มีความเหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ดอน พื้นที่ลุ่ม หรือพื้นที่นา พื้นที่ดอน พื้นที่ลุ่ม หรือพื้นที่นา พร้อมนําเทคโนโลยีสมัยใหม่และเครื่องจักรการเกษตรเข้ามาร่วมจัดการแปลง ทั้งนี้ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ดูงานสําหรับชุมชน หรือหน่วยงานอื่นๆ สําหรับนําไป ขยายผลต่อยอดได้ด้วยตัวเองต่อไป โดยแบ่งโซนพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ ดังนี้

พื้นที่ดอน ปลูกไม้ผล
เช่น มะม่วงแก้วขมิ้น มะม่วงน้ําดอกไม้ ส้มโอทองดี ส้มโอขาวใหญ่ ทุเรียนหมอนทอง น้อยหน่า อะโวคาโด้ มะนาวแป้นมะนาว เลม่อน มะพร้าวน้ําหอม เงาะโรงเรียน กล้วยน้ําว้า เป็นต้น

แปลงวิถีเกษตรพอเพียง 
เป็นพื้นที่ตัวอย่างในการทําเกษตรและปศุสัตว์ ในการสร้างรายได้และลดค่าใช้จ่าย ถือเป็นตัวอย่างในการทําเกษตรประณีต

แปลงทดลองในการปลูกดอกปทุมมาและเก็กฮวย
ซึ่งเป็นพืชที่ให้ภูมิทัศน์ ที่สวยงาม และยังสามารถขาย และแปรรูปดอกสร้างรายได้เพิ่มเติม

ระบบน้ําในพื้นที่แปลงเกษตรสาธิต 75 ไร่
ได้แก่ บ่อพวงสันเขาแบบปู พลาสติก บ่อพวงสันเขาพื้นดินผสมซีเมนต์ ระบบส่งน้ําเข้าในพื้นที่เพาะปลูก และพื้นที่นา เครื่องสูบน้ําพลังงานแสงอาทิตย์ และตะบันน้ํา

สวนลิ้นจี่
ทดลองตัดแต่งกิ่งต้นลิ้นจี่เพื่อปรับเปลี่ยนทรงพุ่ม ทําให้ต้นลิ้นจี่ เตี้ยลง ง่ายต่อการจัดการในอนาคต และมีการทดลองเผาถ่านลิ้นจี่

นาขั้นบันได นาชลประทาน
เป็นแปลงตัวอย่างในการบริหารจัดการน้ํา เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว การใช้สารชีวภัณฑ์ เพื่อลดการใช้สารเคมีในการกําาจัด ศัตรูพืชและวัชพืช

การจัดตั้งโรงเรือนเพาะและอนุบาลกล้าไม้
รวมถึงดําเนินการเพาะและดูแล กล้าไม้ เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านที่มีความสนใจต่อไป

อาคารสํานักงาน
พื่อใช้เป็นพื้นที่สําหรับปฏิบัติงาน ที่พักชั่วคราว และสถานที่ รองรับคณะ ได้แก่ โรงประชุม โรงคัดแยกผลผลิต โรงอาหาร โรงนอน ห้องสรง ห้องนํ้า ศาลาเอนกประสงค์ และลานจอดรถ

นอกจากเป็นแหล่งเรียนรู้สําหรับคณะผู้มาศึกษาดูงานทั่วไปแล้ว ประโยชน์ที่ ชาวบ้านได้รับจากการจัดตั้งแปลงกษตรสาธิตที่เห็นผลได้ทันทีคือ การสร้างรายได้จากการจ้างงานชาวบ้านในพื้นที่โครงการฯ ชาวบ้านในพื้นที่โครงการฯ ที่มี รายได้ต่ํากว่าเส้นความยากจน จํานวน 143 คน ก่อให้เกิดรายได้แก่คนกลุ่มนี้ ประมาณ 4,400,000 บาทต่อปีโดยประมาณ

แปลงเกษตรสาธิต 75 ไร่

2.2. การวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตพืช

โครงการฯ ใช้แนวทางการทําเกษตรแม่นยํา นาพืชระยะสั้นและระยะยาว ที่ชาวบ้านนิยมปลูกอยู่เดิมมาปลูกในพื้นที่แปลงทดลองโดยใช้เทคนิคใหม่ๆ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการแปลง และนําไปเผยแพร่ถ่ายทอดให้กับ ชาวบ้านในการพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของตนเองต่อไป โดยร่วมกับที่ปรึกษาทดลองและวิจัยการดูแลและการจัดการพืชต่างๆ ทั้งพืช ระยะสั้นและพืชยืนต้นในแปลงเกษตรสาธิต 75 ไร่ เพื่อศึกษาหาแนวทาง ในการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตพร้อมกับอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผ่านการ ปฏิบัติจริงในแปลงเพื่อให้สามารถนําองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ แปลงไปเผยแพร่ให้กับเกษตรกรในพื้นที่โครงการฯ ต่อไป กิจกรรมวิจัยเพื่อเพิ่ม ผลผลิตพืชได้ดําเนินการตั้งแต่การวางแผนปลูก การจัดการดูแล การเก็บเกี่ยวผลผลิตและรวมไปถึงการคัดเกรดและการจัดการตลาด

ทีมงานวิจัยจะมาสรุปผลการ ดําเนินงานวิจัยต่างๆ ร่วมกันภายหลังการทดลองในพื้นที่ทุกๆ 6 เดือน เพื่อติดตามความคืบหน้า ปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินงานตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยนําเสนอผลการวิจัยเพิ่มผลผลิตพืชประเภทต่างๆ องค์ความรู้ด้านการปรับปรุงโครงสร้างดิน รวมทั้งการใช้สารชีวภัณฑ์แทนสารเคมีลงพื้นที่ตรวจสอบแปลงเพื่อให้คําแนะนํากับเจ้าหน้าที่ในการปรับปรุงวิธีการ ให้เหมาะสมกับชนิดพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และมีแนวทางส่งเสริม ให้ชาวบ้านต่อไป

ทีมงานวิจัยจะมาสรุปผลการ ดําเนินงานวิจัยต่างๆ ร่วมกันภายหลังการทดลองในพื้นที่ทุกๆ 6 เดือน เพื่อติดตามความคืบหน้า ปัญหาและอุปสรรคในการดําเนินงานตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยนําเสนอผลการวิจัยเพิ่มผลผลิตพืชประเภทต่างๆ องค์ความรู้ด้านการปรับปรุงโครงสร้างดิน รวมทั้งการใช้สารชีวภัณฑ์แทนสารเคมีลงพื้นที่ตรวจสอบแปลงเพื่อให้คําแนะนํากับเจ้าหน้าที่ในการปรับปรุงวิธีการ ให้เหมาะสมกับชนิดพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และมีแนวทางส่งเสริม ให้ชาวบ้านต่อไป

การใช้สารชีวภัณฑ์แทนสารเคมี

2.3 การบํารุงและปรับคุณภาพดิน

โครงการฯ ร่วมกับสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติ การด้านการบํารุงดินให้กับหมอดินอาสาประจําหมู่บ้านจํานวน 93 คน โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้หมอดินอาสาประจําหมู่บ้านมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ

การเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์ธาตุอาหารพืช เพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับ การจัดการดิน การปรับปรุงบํารุงดิน มลพิษทางดิน ดินที่มีปัญหา การอนุรักษ์ดิน และน้ํา และความรู้ด้านงานโครงการพระราชดําริที่เกี่ยวกับการบํารุงดิน ซึ่งจะมีผลต่อการส่งเสริมการปลูกพืชต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพดินต่อไป

นอกจากนี้สถานีพัฒนาที่ดินเชียงใหม่ ยังได้สนับสนุนงบประมาณในการ ไถกลบเพื่อลดการเผาในที่นา และสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทืองให้เกษตรกรนําไปปลูกในพื้นที่นาเพื่อปรับสภาพดินให้อุดมสมบูรณ์ก่อนฤดูกาลปลูกข้าว โดยสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ปอเทืองให้ชาวบ้านจํานวน 70 ราย รวมทั้งหมด 1,950 กิโลกรัม พื้นที่นา 390 ไร่

การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการบําารุงดินให้กับหมอดินอาสา

2.4 การศึกษาดูงานด้านการเกษตร

โครงการฯ ได้จัดการศึกษาดูงานด้านการปลูกไม้ผลที่สําคัญในพื้นที่โครงการฯ ได้แก่ มะม่วง และทุเรียน ให้กับกลุ่มกลุ่มเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครพัฒนา และเกษตรกร เพื่อให้เห็นตัวอย่างความสําเร็จ ศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดี ในการดูแลรักษาต้นให้ได้คุณภาพ เรียนรู้วิธีการคัดเกรดผลผลิตส่งตลาดต่างประเทศ และสามารถนําความรู้ที่ได้กลับไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่โครงการฯ ต่อไป รวมทั้งสิ้นจํานวน 6 ครั้ง ดังนี้

  1. การศึกษาดูงานด้านการปลูกมะม่วงและการคัดมะม่วงเพื่อส่งออก วันที่ 15-19 มีนาคม 2562 ณ บริษัท ซี.พี.สตาร์เลนส์ จํากัด จังหวัดชลบุรี 
  2. การศึกษาดูงานด้านการจัดการแปลงมะม่วงให้ได้มาตรฐานส่งออก วันที่ 9 เมษายน 2562 ณ กลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตมะม่วงคุณภาพ เพื่อการส่งออก อําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
  3. การศึกษาดูงานด้านการจัดการแปลงมะม่วงให้ได้มาตรฐานส่งออก วันที่ 30 สิงหาคม 2562 ณ กลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตมะม่วงคุณภาพ เพื่อการส่งออก อําาเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
  4. การศึกษาดูงานด้านการปลูกทุเรียน วันที่ 13 กันยายน 2562 ณ สวนทุเรียนนายมงคล อินตารักษา ตําบลมะลิกา อําเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
  5. การศึกษาดูงานด้านการผลิตมะม่วงคุณภาพ วันที่ 15-16 กรกฎาคม 2563 ณ กลุ่มวิสาหกิจผู้ผลิตมะม่วงคุณภาพเพื่อการส่งออก อําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
  6. การศึกษาดูงานด้านการปลูกเงาะ วันที่ 28-29 สิงหาคม 2563 ณ ตําาบลอินทขิล อําเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
การศึกษาดูงานด้านการปลูกทุเรียน และด้านการจัดการแปลงมะม่วงให้ได้มาตรฐานส่งออก

2.5 การส่งเสริมพืชระยะสั้น

โครงการฯ ดําเนินการส่งเสริมพืชระยะสั้นที่ชาวบ้านปลูกในพื้นที่อยู่แล้ว เช่น ข้าว ฟักทอง และข้าวโพด โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพ ของผลผลิต โครงการฯ ได้ตั้งเงื่อนไขว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะต้องปฏิบัติตามปฏิทินเพาะปลูกที่กําหนดไว้ทุกขั้นตอน และจะสนับสนุนปุ๋ยและสารชีวภัณฑ์ให้นําไปใช้ในแปลงของชาวบ้าน โดยมีรายละเอียดแยกตามชนิดพืช ดังนี้

ข้าวนาและข้าวไร่

โครงการฯ มีเป้าหมายที่จะเพิ่ม ผลผลิตข้าวนาจากผลผลิตเฉลี่ยที่ 600 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 800 กิโลกรัมต่อไร่ และข้าวไร่จาก 170 กิโลกรัมต่อไร่ เป็น 320- 500 กิโลกรัมต่อไร่ มีชาวบ้านที่ สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มผลผลิต ข้าวนาจํานวน 35 คน พื้นที่รวม 174 ไร่ และเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มผลผลิตข้าวไร่จํานวน 27 คน พื้นที่รวม 80 ไร่ ภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวทั้ง 2 ประเภท พบว่าผลผลิตของชาวบ้าน ที่เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มผลผลิตข้าวนากับโครงการฯ นั้นได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 836 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย ในขณะที่ผลผลิตของชาวบ้านที่เข้าร่วม กิจกรรมเพิ่มผลผลิตข้าวไร่ได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ย 209 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งยังไม่ถึง เป้าหมายที่กําหนดไว้ เนื่องจากผลผลิตของชาวบ้านบางรายได้รับความเสียหาย จากโรคและแมลงศัตรูพืช

เมื่อถึงฤดูกาลปลูกข้าวประจําปี 2563 โครงการฯ ได้ดําเนินกิจกรรมเพิ่มผลผลิต ข้าวนาและข้าวไร่ โดยใช้แนวทางการดําเนินงานและตั้งเป้าผลผลิตเช่นเดียว กับปีที่ผ่านมา มีชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มผลผลิตข้าวนาจํานวน 42 คน พื้นที่รวม 217 ไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 25) และเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มผลผลิต ข้าวไร่จํานวน 26 คน พื้นที่รวม 100 ไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 25) โครงการฯ จะเข้าไปติดตามการเจริญเติบโต และให้คําแนะนํากับชาวบ้านเกี่ยวกับ การดูแลตามมาตรการของโครงการ

บล็อคข้าวไร่เพื่อประมาณการ ผลผลิตแต่ละแปลง

เก็กฮวย

โครงการฯ ส่งเสริมการปลูก เก๊กฮวยให้กับชาวบ้านมาตั้งแต่ปี 2562 เริ่มจากชาวบ้านกลุ่ม นําร่อง 23 คน ปลูกเก๊กฮวยใน พื้นที่ 10 ไร่ ผลปรากฏว่าสามารถ สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้ เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเมื่อคํานวณรายได้ต่อพื้นที่ การปลูกเก๊กฮวยสร้างรายได้ถึง 67,015 บาทต่อไร่ ดังนั้น ในปี 2563 โครงการฯ จึงขยายการส่งเสริมการปลูกเก๊กฮวย มีชาวบ้านสนใจ เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มเป็น 49 คน พื้นที่รวม 20 ไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 100) โครงการฯ จะอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร แนะนําวิธีการปลูก จัดการระบบน้ํา ภายในแปลง และติดตามโดยเจ้าหน้าที่โครงการฯ ตามปฏิทินการเพาะปลูก อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่อไป โดยประมาณการผลผลิต เก๊กฮวย(แห้ง) ไว้ที่ 5 ตัน

การเด็ดยอดเก็กฮวย

ฟักทอง

ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี 2562 โครงการฯ ได้ดําเนินการส่งเสริม การปลูกฟักทองพันธุ์มินิและพันธุ์ญี่ปุ่นเป็นพืชหลังนา โดยมีชาวบ้านสนใจเข้า ร่วมจํานวน 33 คน พื้นที่ปลูกรวม 23.5 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,598 กิโลกรัม ต่อไร่ จากเดิมที่ได้ 854 กิโลกรัมต่อไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 87) ซึ่งโครงการฯ ร่วม กับสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่และผู้ซื้อรายย่อยอื่นๆ ดําเนินการรับซื้อผลผลิต ฟักทองคุณภาพ จํานวน 37,564 กิโลกรัม สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็น มูลค่ารวมกว่า 896,078 บาท

โครงการฯ ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกฟักทองพันธุ์คางคกเป็นพืชทางเลือกในการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่มีทํากินเป็นที่ดอนในช่วงฤดูฝนปี 2563 เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกจํานวน 9 คน พื้นที่รวม 17 ไร่

การปลูกฟักทอง และผลผลิตฟักทองคางคก

ข้าวโพด

โครงการฯ ยังทดลองและวิจัยการปลูกข้าวโพดในช่วงหลังฤดูทํานาร่วมกับชาวบ้าน 3 คน พื้นที่รวม 8 ไร่ โดยทดลองใช้วิธีการ

ปลูกแบบเข้าแถวเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการภายในแปลง อย่างไรเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวานก็ตาม ตลอดช่วงการปลูกพบปัญหา

น้ําไม่เพียงพอในช่วงฤดูดังกล่าวเพราะปลูกในที่ดอน และปัญหาด้านสายพันธุ์ ทําให้ผลผลิตบางส่วนเสียหายและไม่ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามที่ตั้งไว้

เก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวาน

2.6 การส่งเสริมพืชระยะยาว

โครงการฯ ได้สนับสนุนกล้าไม้ผลเศรษฐกิจได้แก่ มะม่วงตลับนาค เงาะ กาแฟ โรบัสต้า อะโวคาโด มะม่วงหิมพานต์ ก๋ง รวมถึงไม้ป่าต่างๆ ได้แก่ พยูง ประดู่ ไผ่รวกดํา ไผ่ซางหม่น ให้กับชาวบ้านที่สนใจปลูกในพื้นที่ทํากินของตนเพื่อเป็นแหล่งรายได้ในระยะยาวให้กับชาวบ้านทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและเพิ่มพื้นที่ป่าในพื้นที่โครงการฯ โดยสนับสนุนต้นกล้าให้ชาวบ้านนําไป ปลูกแล้ว 1,065 ราย พื้นที่รวม 1,925 ไร่ และได้มีติดตามการเจริญเติบโต โดยเจ้าหน้าที่โครงการฯ อยู่เป็นประจํา

นอกจากเพิ่มปริมาณไม้ผลระยะยาวในพื้นที่แล้ว โครงการฯ ยังได้ดําเนินการทดลองหาวิธีเพิ่มผลผลิตและคุณภาพให้กับพืชระยะยาวที่นิยมปลูกอยู่แล้ว ในพื้นที่ ได้แก่ มะม่วง และลิ้นจี่ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับชาวบ้าน

โดยร่วมกับชาวบ้านจํานวน 26 ราย พื้นที่รวม 42 ไร่ ในการติดตามการเจริญ เติบโตของต้นลิ้นจี่ที่ได้ทดลองตัดแต่งกิ่งและทดลองปุ๋ยตามโปรแกรมของโครงการฯ และได้ทดลองปลูกพืชใหม่ๆ เพื่อทดลองศักยภาพก่อนที่จะส่งเสริม ให้กับชาวบ้านต่อไปได้แก่ เสาวรส และเคพกูสเบอร์รี่

เปลี่ยนยอดพันธุ์มะม่วง

โครงการฯ ยังร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจไม้ผลคุณภาพบ้านห้วยส้านได้ดําเนินการ เปลี่ยนยอดพันธุ์มะม่วงให้กับเกษตรกรที่สนใจปรับปรุงสายพันธุ์ของมะม่วง ให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด โดยในปี 2562 – 2563 ได้เปลี่ยนเป็น ยอดพันธุ์มะม่วงน้ําดอกไม้สีทอง และมะม่วงมหาชนกซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ตลาด ต้องการและมีราคาสูงกว่ามะม่วงนวลคําที่มีอยู่ในพื้นที่ ดําเนินการเปลี่ยนยอดโดยเกษตรกรจากกลุ่มวิสาหกิจไม้ผลคุณภาพบ้านห้วยส้านที่มีความเชี่ยวชาญ ในการเปลี่ยนยอดมะม่วงแล้วจํานวน 30,989 ยอด และได้มีการให้ความรู้กับเจ้าของแปลงมะม่วงในการเปลี่ยนยอดมะม่วงด้วยตนเองอีกด้วย

2.7 การสนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจไม้ผลคุณภาพบ้านห้วยส้าน (ร่วมกับ บริษัท ซี.พี. สตาร์เลนส์ จํากัด)

โครงการฯ บริษัท ซี.พี. สตาร์เลนส์ จํากัด และกลุ่มวิสาหกิจไม้ผลคุณภาพ บ้านห้วยส้าน ได้ร่วมกันกําหนดมาตรการการผลิตมะม่วงคุณภาพส่งตลาด ต่างประเทศตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา โดยมีเจ้าหน้าที่จาก บริษัท ซี.พี. สตาร์เลนส์ จํากัด เป็นผู้สํารวจคุณภาพมะม่วงของชาวบ้านในแปลง

อธิบายลักษณะมะม่วงที่เหมาะสมต่อการเก็บเกี่ยว และสอนการคํานวณปริมาณการเก็บเกี่ยวต่อวันเพื่อให้เพียงพอต่อการขนส่งไปยังโรงงานรับซื้อ ซึ่งเกษตรกรจะต้องดูแลรักษา ควบคุมการใช้สารเคมี ตามที่บริษัทกําหนด ตั้งแต่ช่วงผลิดอกจนถึงช่วงเก็บผลผลิต

ผลจากความร่วมมือดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่ม ขึ้นจากเดิมร้อยละ 120 จากราคามะม่วงคุณภาพส่งออกที่สูงขึ้น แม้ว่าปริมาณ ผลผลิตที่จําหน่ายลดลงก็ตามนั้น ได้ทําให้ชาวบ้านรายอื่นๆ เห็นประโยชน์ที่จะ ได้รับจากการผลิตมะม่วงโดยเน้นที่คุณภาพ และสนใจที่จะเข้าร่วมกลุ่มเพิ่มขึ้น จากเดิมมีสมาชิก 6 ราย เป็น 23 ราย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกทั่วโลกโดยเฉพาะตลาดมะม่วงซึ่งพึ่งพา

การส่งออกเป็นหลัก ทําให้ราคารับซื้อในปีนี้ลดลงประมาณร้อยละ 40 – 60 ควบคู่ไปกับปริมาณรับซื้อที่ลดลง ทางกลุ่มฯ จึงต้อง จัดการขายผลผลิตผ่านช่องทางอื่นๆ ด้วยตัวเอง เช่น การขายผ่านช่องทาง ออนไลน์ และตลาดอื่นๆ ในพื้นที่ ทั้งนี้ มีสมาชิก 12 รายจาก 23 รายเท่านั้น ที่สามารถส่งผลผลิตมะม่วงตามมาตรฐานส่งออกให้แก่บริษัท ซี.พี.สตาร์เลนส์ จํากัด ในปีนี้ เนื่องจากสมาชิกรายอื่นๆ ยังไม่สามารถทําตามขั้นตอนที่บริษัทกําหนดไว้ได้

สรุปปริมาณผลผลิตมะม่วงที่ขายในปี 2563 ได้ทั้งหมด 90,868 กิโลกรัม มูลค่า รวม 1,789,805 บาท โดยมีรายละเอียดแยกตามช่องทางจําหน่ายได้ ดังนี้

  • ขายส่งตลาดต่างประเทศ 29,390 กิโลกรัม มูลค่า 779,340 บาท 
  • ขายผ่านช่องทางออนไลน์ 635 กิโลกรัม มูลค่า 25,005 บาท 
  • ขายผ่านช่องทางตลาดทั่วไปในพื้นที่ 60,843 กิโลกรัม มูลค่า 985,360 บาท
คัดผลผลิตมะม่วงตามมาตรฐานส่งออก

2.8 กิจกรรมส่งเสริมกล้าผักสวนครัว ลดรายจ่าย

โครงการฯ ได้จัดอบรมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือนให้กับเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านสุขฤทัยโรงเรียนโชติคุณเกษมบ้านเมืองงาม

และโรงเรียน ตชด. ศึกษานารี อนุสรณ์ 3 บ้านห้วยส้าน เพื่อเสริมสร้างทักษะการเกษตรให้กับนักเรียน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ผลิตอาหารให้กับโรงครัวของโรงเรียน ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงเป็นอาชีพสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว หลังจากการอบรม นักเรียนจะได้รับกล้าผักไปปลูกที่บ้านช่วงปิดเทอมโดยมีครูและผู้ปกครองเป็นคนให้คําแนะนําและติดตามการเจิรญเติบโต

นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย โดยสนับสนุนกล้าผักสวนครัวให้ชาวบ้านที่มีความสนใจ จํานวน 556 คน รวม 11,086 กล้า

ส่งเสริมกล้าผักสวนครัว

2.9 กิจกรรมอยู่บ้าน ปลูกผัก แบ่งปัน สู้ภัยโควิด-19

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2563 โครงการฯ ร่วมกับสํานักงานพัฒนาชุมชนอําเภอ แม่อาย จัดโครงการ “อยู่บ้าน ปลูกผัก แบ่งปัน สู้ภัย โควิด-19” เป็นการ น้อมนําหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเน้นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และการ พึ่งพาตนเองตามวิถีพอเพียง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ให้เกียรติ

 

เป็นประธานในพิธี มอบต้นกล้า และเมล็ดพันธุ์พืชจากโครงการฯ ให้แก่ผู้แทนจาก 7 ตําบล ประกอบไปด้วย ต้นกล้าผักจํานวน 35,000 ต้น และ เมล็ดพันธุ์พืชจํานวน 5,000 ซอง นอกจากนี้ ชาวบ้านในพื้นที่โครงการฯ ได้มอบข้าวสารพันธุ์อีโตที่ได้จากชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มผลผลิตข้าวนา ร่วมกับโครงการฯ จํานวน 1,000 กิโลกรัมให้แก่ผู้แทน 7 ตําบล เพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 อีกด้วย สะท้อนให้เห็นถึง การแบ่งปันช่วยเหลือระหว่างชุมชนเป็นอย่างดี

ส่งมอบกล้าผักและลงพื้นที่แปลงผัก