การพัฒนาด้านหัตถกรรม

4.1 การส่งเสริมอาชีพด้านหัตถกรรม

กลุ่มสตรีเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสําคัญในการพัฒนา โดยสตรีส่วนใหญ่ในพื้นที่โครงการร้อยใจรักษ์ประกอบอาชีพหัตถกรรมเป็นหลัก แต่ยังขาดทักษะและ ช่องทางการตลาด โครงการฯ จึงเข้าไปส่งเสริมอาชีพด้านหัตถกรรม เพื่อ ต่อยอดในสิ่งที่ชุมชนทําอยู่แล้วให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ผ่านการพัฒนาทักษะด้านหัตถกรรม และหาช่องทางการตลาดให้

การส่งเสริมอาชีพด้านหัตถกรรม

ทีมเจ้าหน้าที่ฝ่ายหัตถกรรม โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้เข้าไปส่งเสริมอาชีพ ด้านหัตถกรรมให้กับกลุ่มสตรีบ้านห้วยส้าน โดยเข้าไปติดตามผลการทํางานจ่ายงานและให้คําแนะนําในการเย็บผ้าแก่กลุ่มสตรีที่เข้าร่วมกิจกรรมผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ดอยตุงอย่างต่อเนื่อง โดยส่งรายการสินค้าให้กลุ่มสตรี ผลิตจํานวนทั้งสิ้น 97,394 ชิ้น มูลค่าสินค้ารวมทั้งสิ้น 1,254,169 บาท

4.2 จัดตั้งสํานักงานกลุ่มหัตถกรรมบ้านห้วยส้าน

โครงการฯ ได้ดําเนินการจัดตั้งสํานักงานกลุ่มหัตถกรรมขึ้นในบ้านห้วยส้าน เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการรับ-ส่งงานหัตถกรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสามารถสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มแม่บ้านได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังสามารถ ใช้สถานที่ดังกล่าวสําหรับกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของกลุ่มในอนาคต โดย โครงการฯ ได้สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และดําเนินการปรับปรุงซ่อมแซมสถานที่ จนแล้วเสร็จ และเริ่มดําเนินกิจกรรมของกลุ่มอย่างเป็นทางการตั้งแต่ วันที่ 31 ตุลาคม 2562 เป็นต้นมา

สํานักงานกลุ่มหัตถกรรมบ้านห้วยส้าน

ภายหลังจากปรับปรุงสถานที่แล้ว โครงการฯ ยังผลักดันให้เกิดการทํางาน ร่วมกันระหว่างชาวบ้านอย่างเป็นรูปธรรม โดยส่งเสริมให้บริหารจัดการแบบกลุ่มมากขึ้น เพื่อเพิ่มกําลังการผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการของ แบรนด์ดอยตุงและแบรนด์อื่นๆ ในอนาคต อันจะนําไปสู่การสร้างรายได้ ที่มั่นคงของกลุ่มในระยะยาว

4.3 การอบรมการใช้จักรเย็บผ้า

โครงการฯ เล็งเห็นความสําคัญของการพัฒนาศักยภาพของกลุ่มแม่บ้านเพราะจะนําไปสู่การผลิตชิ้นงานที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ จึงได้สนับสนุนจักรเย็บผ้า มาตรฐานอุตสาหกรรมจํานวน 10 เครื่องและจัดการอบรมเสริมทักษะการใช้ จักรเย็บผ้าให้กับกลุ่มแม่บ้าน ณ โรงงานทอผ้าในศูนย์ผลิตและจําหน่ายงานมือ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ โดยเจ้าหน้าที่โรงทอผ้าที่มีประสบการณ์ มีกลุ่มแม่บ้าน ห้วยส้านและเมืองงามเหนือ จํานวน 4 รุ่น 27 คน

การอบรมการใช้จักรเย็บผ้า

ตลอดการอบรมทั้ง 8 วัน กลุ่มแม่บ้านได้เรียนรู้การใช้และการดูแลรักษา จักรเย็บผ้าและจักรโพ้ง เรียนรู้การพื้นฐานการเย็บผ้าแบบต่างๆ เทคนิค การเย็บผลิตภัณฑ์ ผ่านการทดลองเย็บผลิตภัณฑ์ต่างๆ จริง และการตรวจ คุณภาพสินค้าที่ผลิตออกมา นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การคํานวณต้นทุนในการ ผลิตสินค้าอีกด้วย ภายหลังจากการอบรมในแต่ละรุ่น ผู้ฝึกสอนได้ประเมิน คะแนนของกลุ่มแม่บ้าน เพื่อพิจารณามอบงานที่มีมูลค่าสูงขึ้นให้ผลิตต่อไป โดยมีแม่บ้านที่มีฝีมืออยู่ในเกณฑ์ที่ดี 15 คน และอยู่ในเกณฑ์พอใช้ 12 คน

4.4 การพัฒนางานหัตถกรรมชุมชน

นอกจากกลุ่มสตรีแล้ว โครงการฯ เล็งเห็นถึงความสําคัญของการดึงเยาวชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอาชีพด้านหัตถกรรม โดยเน้นใช้ลวดลายชนเผ่าดั้งเดิมมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบร่วมสมัยประกอบขึ้นเป็นสินค้าใหม่ และ ส่งเสริมให้กับชาวบ้านที่สนใจดําเนินการผลิตส่งตลาดชุมชนของโครงการฯเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้าน อบรมนักเรียนจากโรงเรียนในพื้นที่

 

โครงการทั้ง 3 แห่ง ฝึกระบายสีหินแม่น้ําเป็นลวดลายต่างๆ เพื่อสร้างกิจกรรม ฝึกทักษะด้านศิลปะในเวลาว่างให้กับเด็กนักเรียน และออกแบบผ้าปิดจมูกให้ชาวบ้านเย็บเพื่อแจกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการ ตลอดจนวางจําหน่ายในตลาดชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของโรค Covid-19 ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคม 2563

4.5 การศึกษาดูงานด้านหัตถกรรม

โครงการฯ ได้จัดการศึกษาดูงานและจัดการอบรมด้านหัตถกรรมให้กับ เจ้าหน้าที่หัตถกรรมของโครงการและชาวบ้านในโครงการร้อยใจรักษ์เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการเพิ่มมูลค่าสัตว์ในพื้นที่ ตลอดจนการแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์เพื่อเพิ่มมูลค่า ระหว่างวันที่ 22 – 23 สิงหาคม 2563 ณ วิสาหกิจชุมชนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ออนใต้ อําเภอสันกําแพง บ้านไร่ใจสุข อําเภอหางดง ร้าน Torboon One Nimman จังหวัดเชียงใหม่

ศึกษาดูงานด้านหัตถกรรม ณ จังหวัดเชียงใหม่