แนวทางการดำเนินงาน
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่
ของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายตามศาสตร์ พระราชา โดยนำการพัฒนาทางเลือก มาปรับใช้แก้ปัญหายาเสพติด และสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ อย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์โครงการ
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความ เป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายตามศาสตร์พระราชาโดยนำการพัฒนาทางเลือก (Alternative Development) มาปรับใช้แก้ปัญหายาเสพติด และสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ อย่างยั่งยืน
1. สนับสนุนมาตรการและนโยบายของรัฐบาลในการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติด และเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ ด้วยการสร้าง ความเข้มแข็งของชุมชน
2. บูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วนและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ รอบด้าน เห็นผลเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน โดยยึดผลประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง
3. สร้างทางเลือกในการดำรงชีพอย่างพอเพียง และสร้างภูมิคุ้มกันแก่ ชุมชนเป้าหมาย ซึ่งเคยสร้างรายได้ส่วนใหญ่จากกิจกรรมผิดกฎหมายต่างๆ ให้หันมาประกอบอาชีพสุจริตแทน โดยมุ่งเน้นการสร้างตัวอย่าง ที่เป็นรูปธรรมให้ชุมชนเห็นและเข้าใจ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตนเอง
4. พัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย ตามศาสตร์พระราชาด้วยการเน้นการลดรายจ่ายและสร้างรายได้ในครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีลำดับการพัฒนาให้มีความ “อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
5. เสริมสร้างศักยภาพของคนในชุมชนในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ ชลประทาน หัตถกรรม การแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิต การบริการ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจน สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนต่อไปได้ด้วยตนเอง
6. ส่งเสริมการแบ่งปันและบริหารจัดการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกันในชุมชน เพื่อให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ต่างๆ ในพื้นที่อย่างเท่าเทียม มีการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และ ก่อให้เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน
7. เป็นต้นแบบการแก้ปัญหายาเสพติดในบริบทสังคมเมืองอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้การพัฒนาทางเลือกเชิงพื้นที่ระยะยาวอย่างมีบูรณาการ และรอบด้านทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เน้นการมีส่วนร่วม สะท้อนความต้องการของชุมชนในพื้นที่ และ ความเป็นเจ้าของระหว่างผู้มีส่วนได้เสียทุกระดับในท้องถิ่น ยึดคน เป็นศูนย์กลาง และประเมินผลประโยชน์ต่อประชาชนตามตัวชี้วัด โครงการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ขยายผลในพื้นที่อื่นได้ต่อไป
แนวทางการดำเนินงาน
การดำเนินงาน โครงการร้อยใจรักษ์ เป็นการพัฒนา เชิงพื้นที่ ครอบคลุม 10 มิติ ได้แก่ น้ำ ดิน ป่า การศึกษา สุขภาพ เกษตร ปศุสัตว์ หัตถกรรม การแปรรูปเพิ่มมูลค่า และการท่องเที่ยว ซึ่งมีกรอบ เวลาของการพัฒนาสอดคล้องกับระดับการพัฒนาตาม 3S Model นั่นคือ ลำดับแรกของการดำเนินงาน เพื่อก้าวสู่ระดับการพัฒนาขั้น “อยู่รอด” นั้น มุ่งเน้นการพัฒนาทุนธรรมชาติ คือ ทรัพยากรน้ำ ดิน ป่า ให้มีสภาพสมบูรณ์ ทุกคนสามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียม สามารถเป็นทุน สำหรับการต่อยอดอาชีพต่างๆ ได้ต่อไป อีกทั้งส่งเสริมให้เกิดความสมดุลระหว่างทุนธรรมชาติระหว่างการใช้และอนุรักษ์ด้วย ในขณะเดียวกัน ในระยะแรกนี้โครงการก็ยังมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตพื้นฐาน ได้แก่ สุขภาพ และการศึกษา และกิจกรรมลดรายจ่ายในครัวเรือน เพิ่มความ มั่นคงทางอาหาร ควบคู่กันไปด้วย
หลังจากการพัฒนาทุนพื้นฐาน และชุมชนสามารถ “อยู่รอด” แล้ว โครงการก็จะมุ่งเน้น การดำเนินงานส่งเสริมอาชีพทางเลือกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านการเกษตร ปศุสัตว์ และหัตถกรรม ตามระดับการพัฒนาในระยะ “พอเพียง” ที่มีเป้าหมาย ในการสร้างรายได้ที่มั่นคง มีทางเลือกในการประกอบอาชีพสุจริตที่หลากหลาย โดยโครงการต่อยอดจากสิ่งที่ชุมชนมีอยู่แล้ว ด้วยการพัฒนาศักยภาพและทักษะ ของเกษตรกร และคนในชุมชนด้วยองค์ความรู้ใหม่ๆ เช่น เกษตรประณีตแม่นยำ ตลอดจนสนับสนุนการเข้าถึงทุน เช่น ปัจจัยการผลิต พันธุ์สัตว์ เพื่อเพิ่มคุณภาพ และปริมาณผลผลิต เชื่อมโยงตลาด สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรมุ่งเน้นการผลิต ขั้นต้นน้ำที่มีคุณภาพ นำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในการพัฒนาขั้นสุดท้าย คือ “ยั่งยืน” นั้น โครงการจะต่อยอดการพัฒนาด้านเกษตร ปศุสัตว์ และหัตถกรรม ไปสู่การส่งเสริม การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิต เพื่อแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรผันผวน มุ่งให้เกิดตลาดรองรับสินค้าที่แน่นอน ราคาเป็นธรรม รวมไปถึงการสร้างงาน สร้างอาชีพที่หลากหลายมากขึ้นในขั้น พัฒนา “กลางน้ำ” ในขณะเดียวกันก็ มุ่งส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในพื้นที่โครงการ เพื่อเพิ่มช่องทางการ จำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชน ในระยะยาว รวมทั้งสร้างทางเลือกงาน ด้านบริการและการท่องเที่ยว สร้างโอกาสและแรงจูงใจให้คนในชุมชนโดยเฉพาะ คนรุ่นใหม่ ให้สามารถประกอบอาชีพ สุจริต เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ อย่างยั่งยืน โดยไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวหรือ พึ่งพายาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ ทั้งนี้ การดำเนินงานพัฒนาทั้ง 10 มิตินั้น ตั้งอยู่บนหลักการพัฒนาอย่างสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคำนึงถึงผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการทำงาน และหลักนิติธรรม (Rule of Law) ที่ทุกคน จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน